วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557

กฎหมายที่่เกี่ยวข้องกับการสร้างที่พักอาศัย


ที่พักอาศัยแบบตู้คอนเทนเนอร์ต้องมีกฏหมายควบคุมด้วยหรอ ?
"ต้องมีกฏหมายควบคุมครับ" หากตอนเป็นตู้คอนเทนเนอร์ขนของก็ใช้กฏหมายของการบรรทุกขนส่งไป  แต่ถ้าเราเอาตัวเองไปเป็นที่หลับนอนเป็นจิจะลักษณะหรือเป็นอาศัยอยู่แบบถาวรที่เข้าข่ายที่ก่อให้เกิดความไม่ปลอยภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินไม่ว่าจะเป็นของตนเองและเพื่อนมนุษย์ก็คงต้องมีกฏหมายควบคุมครับ  ถ้าถามว่า"ไม่ต้องมีกฏหมายควบคุมไม่ได้หรือเพราะ........ บราๆๆ"  ผมก็ขอตอบได้เต็มปากเลยว่า "ก็ช่วยไม่ได้ โลกเราก็แบบนี้แหล่ะ เหอๆ"  

คำว่ากฏหมายที่เราได้ยินกันมาตั้งแต่เด็กจนโตมา  สำหรับคนที่ไม่ได้เรียนกฏก็คงไม่สามารถให้คำจำกัดความที่ชัดเจนได้  ตัวผมเองพึ่งได้รู้ความหมายจริงๆก็วันนี้แหล่ะ จึงขอแชร์ซักหน่อยล่ะกันครับ  กฎหมาย คือ "กฎเกณฑ์ คำสั่ง หรือข้อบังคับที่ถูกตั้งขึ้นโดยรัฐหรือผ็มีอำนาจสูงสุดเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายอย่างหนึ่งอย่างใดของสังคม และมีสภาพบังคับเป็นเครื่องมือในการทำให้บุคคลในสังคมต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ คำสั่ง หรือข้อบังคับนั้น"  

วัตถุประสงค์หลักของข้อกฏหมายที่พักอาศัย “เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของเจ้าของอาคารและสาธารณชน” โดยในข้อกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับที่พักอาศัยมีสาระสำคัญดังนี้
  • ควบคุมเรื่องความมั่นคงแข็งแรง
  • ควบคุมความปลอดภัยต่อผู้ใช้อาคาร
  • ควบคุมความเป็นระเบียบเรียบร้อยต่อสังคมและชุมชน
  • ควบคุมการสร้างมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม

เฉพาะนั้นแล้วที่พักอาศัยแบบตู้คอนเทนเนอร์จัดว่าเป็นที่พักอาศัยของแบบอสังหาริมทรัพย์  ต้องมีการขอเลขที่บ้าน, ขอเบอร์โทร, ขอกระแสไฟฟ้า ฯลฯ เช่นเดียวกันกับบ้านพักทั่วไปครับ   


แนวคิดเกี่ยวกับที่พักอาศัย

เป็นการสร้างเพื่อแสดงถึงอาณาเขตที่เป็นสัดส่วนของบุคคล เป็นเอกสิทธิ์ที่พึงมีพึงได้ และจะต้องไม่ล่วงล้ำกรรมสิทธิ์ของผู้อื่นเช่น ที่ดินส่วนบุคคล (พื้นที่ข้างเคียง) หรือไปซ้อนทับกับที่สาธารณะของแผ่นดิน


พรบ.ควบคุมอาคารที่พักอาศัย

  • พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๔๒
  • พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ฉบับปรับปรุงแก้ไข ฉบับที่ ๓ ซึ่งเริ่มใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๓
  • พระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน พ.. ๒๕๔๓


ถ้าจะต้องสร้างบ้านต้องทำอย่างไร ?

อันดับแรกจะต้องขออนุญาตเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องมีคำสั่งอนุญาตก่อสร้างก่อนจึงจะปลูกสร้างบ้านได้ รายละเอียดการดำเนินการบริษัทรับสร้างบ้านส่วนใหญ่จะเป็นผู้ดำเนินการให้อยู่แล้ว


กฎหมายที่่เกี่ยวข้องกับการสร้างที่พักอาศัย  

  1.  บ้านสูงไม่เกิน ๘ เมตร และสร้างบนที่ดินติดถนนกว้างไม่ถึง ๖ เมตร จะต้องถอยตัวอาคารบ้านพัก ห่างจากกึ่งกลางถนน ไม่น้อยกว่า ๓ เมตร
  2. บ้านสูงเกินกว่า ๘ เมตร และสร้างบนที่ดินติดถนนกว้างไม่ถึง ๑๐ เมตรจะต้องถอยตัวบ้านพักห่างจากกึ่งกลางถนน ไม่น้อยกว่า ๖ เมตร
  3. บ้านสูงเกินกว่า ๘ เมตร และสร้างบนที่ดินติดถนนกว้างขนาด ๑๐-๒๐ เมตร จะต้องสร้างอาคารถอยห่างจากที่ดิน จากเขตที่ดินเป็นระยะ ๑ ใน ๑๐ เท่าของความกว้างถนน 
  4. บ้านที่สูงเกินกว่า ๘ เมตร และสร้างบนที่ดินติดถนนกว้าง ๒๐ เมตรขึ้นไป จะต้องสร้างอาคารถอยห่างจากเขตที่ดิน เป็นระยะอย่างน้อย ๒ เมตร 
  5. การสร้างบ้านใกล้แม่น้ำ คู คลอง ลำราง ที่แคบกว่า ๑๐ เมตร จะต้องถอยตัวบ้านห่างจากขอบที่ดินอย่างน้อย ๓ เมตร
  6. ถ้าแหล่งน้ำนั้นกว้างกว่า ๑๐ เมตร จะต้องถอยตัวบ้านห่างจาขอบที่ดินอย่างน้อย ๖ เมตร
  7.  ถ้าเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น บึง ทะเลสาบ หรือทะเล จะต้องถอยให้ตัวบ้านห่างจากขอบที่ดินอย่างน้อย ๑๒ เมตร
  8. หากเป็นสิ่งก่อสร้างอื่นๆ เช่น สะพาน ท่าเรือ อู่เรือ เขื่อน รั้วที่จำเป็นต้องสร้างชิดแหล่งน้ำ ให้ยื่นขออนุญาตต่อทางราชการต่างหาก จากบ้านพักอาศัย
  9. ห้ามสร้างบ้านให้มีส่วนหนึ่งส่วนใด ยื่นรุกล้ำเข้าไปในเขตที่ดินผู้อื่น
  10. หากผนังข้างบ้านเป็นช่องเปิดต่างๆ เช่น ประตู หน้าต่าง แนวระเบียง จะต้องถอยร่นจากขอบที่ดินเป็นระยะ ๒ เมตร (สำหรับชั้นหนึ่งและชั้นสอง) และถอยเป็นระยะ ๓ เมตรสำหรับชั้นสาม
  11. หากผนังข้างบ้านเป็นผนังทึบ และมีความสูงไม่เกิน ๑๕ เมตร ให้เว้นระยะไว้อย่างน้อย ๕๐ เซนติเมตร หรือถ้าต้องการสร้างผนังให้ไปจนชิดแนวขอบจริงๆ ต้องให้เพื่อนบ้านเซ็นต์ยินยอมเสียก่อน เนื่องจากเวลาก่อสร้างนั้น ช่างอาจต้องวางนั่งร้าน เพื่อทาสีฉาบปูนในเขตที่ดินของเพื่อนบ้าน (หากพื้นที่ใช้สอยรวมแล้วกว้างกว่า ๓๐๐ ตารางเมตร จะต้องเว้นระยะห่างอย่างน้อย ๑ เมตร โดยทุกกรณี) 
  12. กรณีที่บ้านสูงเกิน ๑๕ เมตร จะต้องให้ผนังทึบ ถอยห่างจากขอบที่ดินอย่างน้อย ๕๐ เซนติเมตร (หากพื้นที่ใช้สอยรวมแล้วกว้างกว่า ๓๐๐ ตารางเมตร ห้ามสร้างชิดเด็ดขาด)
  13. การปลูกสร้างบ้านพักอาศัยบนที่ดินนั้น ตามกฎหมายกำหนดให้เปิดเป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า ๓๐ เปอร์เซ็นต์ โดย ๗๐ เปอร์เซ็นต์ เพื่อการก่อสร้างบ้านพักอาศัย (ที่ว่างหมายถึง พื้นที่อันปราศจากสิ่งปกคลุม ซึ่งอาจจัดเป็นบ่อน้ำ สระว่ายน้ำ บ่อพักน้ำเสีย ที่พักขยะมูลฝอย เป็นต้น)
แหล่งที่มา

1 ความคิดเห็น: