วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ส่วนประกอบทั่วไปอาคารสำเร็จรูปในลักษณะตู้คอนเทนอร์

องค์ประกอบทั่วไปของ Building Container

โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีโครงสร้างมาตรฐานสามารถประกอบเข้าหรือถอดออกได้เพื่อให้ง่ายแก่การผลิต ทั้งยังสามารถประยุกต์ได้หลากหลายขนาดโดยมีสไตย์ที่แตกต่างกันไป แต่องค์ประกอบโดยรวมแล้วไม่แตกต่างกันมาก  สามารถแบ่งองค์ประกอบสำคัญได้ 6 ส่วนด้วยกันตามรูปด้านล่าง



1.หลังคา
            เป็นโลหะแผ่นเดียวทั้งแผ่นหรือหลายแผ่นประกอบกันอย่างแน่นหนาเพื่อป้องกันน้ำรั่วซึ่มเข้ามาภายใน  โดยมากจะเรียบตรงซึ่งจัดว่า "ไม่เวิร์ค" เนื่องจากยังมีโอกาสน้ำท่วมขังเป็นหนองน้ำเหนือหัวเราได้  มีการฉีดฉนวนโฟมป้องกันความร้อนจากภายนอกและกับเก็บอุณภูมิภายใน  ลดเสียงจากภายนอกได้ระดับหนึ่ง เช่น ฝน เศษไม้    


2.ผนัง
            บ้างเจ้าอาจใช้วัสดุประเภทเดียวกันกับหลังคา  แต่จะเป็นชิ้นๆประกอบกันทุกเจ้าเพื่อให้ง่ายแก่การผลิตและการทำประตูหน้าต่าง มีการฉีดฉนวนโฟมป้องกันความร้อนจากภายนอกและกับเก็บอุณภูมิภายใน เช่นเดียวกัน  ฉนวนกันความร้อนที่นิยมใช้ในแผนผนังอาคารสำเร็จรูปในลักษณะตู้คอนเทนอร์ คือ " โพลียูริเทนโฟม" เกิดจากกระบวนการทำให้เป็น ฟองอากาศขนาดเล็กจำนวนมาก ที่อัดกันอย่างเหนียวแน่นจนแข็ง ส่งผลให้เป็นฉนวนที่มีน้ำหนักเบา มีค่าการดูดซับน้ำต่ำมาก จัดเป็นวัสดุประเภทเซลล์ธรรมชาติที่กันความร้อนได้เป็นอย่างดีมีน้ำหนักเบาไม่ก่อให้เกิดปัญหากับโครงสร้างมีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง  แต่โดยส่วนตัวชนวนชนิดนี้ก็จัดว่าดีมาก  โดยเฉพาะเป็นวัสดุจากเซลล์ธรรมชาติจึงพอมั่นใจได้ว่าปลอดภัยไม่มีสารพิษเจอปนชนิดหนึ่งครับ
 



3.เสา
             ทำด้วยโลหะหนาขึ้นรูป  ส่วนเสาเป็นส่วนที่ต้องการความแข็งแกร่งสูงพอควรจึงนิยมใช้เป็นเหล็กรีดร้อนขึ้นรูป  ภายในเสาจะกลวงเพื่อใช้เป็นทางระบายน้ำลงพื้นซึ่งบางรายจะมีท่อ PVC อยู่ภายในเป็นทางระบายน้ำซึ่งดีกว่าให้ตัวเสาที่เป็นโลหะเป็นวทางน้ำโดยตรง  อาจมีบางเจ้าว่าไม่เป็นไรมันก็ใช่น่ะ ในช่วงแรก  ยังไงถ้าเหล็กทำปฎิกิริยากับความชื้นผลที่ได้คือ "สนิม"  เพราะฉนั้นการป้องกันสนิมที่ดีที่สุดการป้องกันไม่ให้โลหะสัมผัตความชื้นโดยตรง  ควรทาสีทับหนาๆและมั่นดูแลสม่ำเสมอครับ


4. พื้น
             นิยมใช้แผ่นไม้อัดรองพื้นเนื่องจากสามารถรับแรงกระแทกและปลอดภัยกว่าเป็นพื้นโลหะ  ปูทับด้วยวัสดุผิวเรียบได้แก่ แผ่นPVC, เสื่อน้ำมัน, แผ่นไม้, กระเบื่อง ฯลฯ ไม่ต่างจากสิ่งปลูกสร้างทั่วไป ต่างแค่ไม่เทปูรองพื้นเท่านั้นเอง ซึ่งไม่แน่ในอนาคตอาจมีผู้ทำขึ้นมาก็ได้

              แต่ไม้อัดเองก็มีปัญหาอยู่หลายประการ เช่น ความชื้น, ความแข็งแรง, ไฟไหม่, เสียงดัง, แมลงศัตรูไม้ ฯลฯ จึงมีการใช้แผ่นไม้อัดซีเมนต์อเนกประสงค์ หรือเรียกง่ายๆว่า VIVA Board ที่มีคุณสมบัติสามารถลดปัญหาทั้งหมดที่ได้กล่าวมาได้ พบว่าเป็นพื้นที่เหมาะสมมากชนิดหนึ่งครับ 
 




5. ประตู
              ไม่มีก็คงไม่ได้ครับสำหรับประตู  คงได้พุ้งเข้า-ออกทางหน้าต่างกันพอดี  ด้วยลักษณะวัสดุที่ต้องอ้างอิงกับกับตัวผนังที่เป็นโลหะฉีดฉนวน  จึงไม่เหมาะกับประตูที่มีน้ำหนัก เช่น ประตูไม้  ไม้ยังมีอัตราการหดตัว บิดงอ ค่อนข้างสูงด้วย  ดังนั้นประตูที่เหมาะสมสำหรับการเปิดแบบดึงหรือผลัก ควรนเป็น ประตูพลาสติก เนื่องจากมีน้ำหนักเบา มีมีการหดตัว มีโอกาสบิดตัวเล็กน้อย และสำหรับการเปิดแบบไลท์ออกด้านข้างควรจะเป็นแบบกระจกเก็บขอบด้วยอลูมิเนียม แม้จะมีน้ำหนักอยู่บ้างแต่ด้วยการลดไลท์เปิดในแนบเดียวกับผนังและไม่มีหดและบิดตัว สวยงามกว่า จึงเหมาะสมสำหรับที่พักอาศัยสำเร็จรูปแบบตู้คอนเทนเนอร์ที่สุด  

ประตูมีหลากหลายแบบสามารถ คลิ๊ก เพื่อดูประเภทของประตูที่เราใช้อยู่ทุกวัน




6. หน้าต่าง
              เช่นเดียวกันกับประตู  สำหรับที่พักอาศัยสำเร็จรูปแบบตู้คอนเทนเนอร์มีลักษณะการเปิดที่หลากหลาย  นิยมใช้  2 แบบใหญ่ๆได้แก่ บานไลท์ และ ผลักเปิดด้านล่างขึ้นบนครับ  

หน้าต่างมีหลากหลากแบบสามารถดูลายละเอียดหน้าต่างเพิ่มเติม คลิ๊ก เลย



ขอบคุณรูปสวยจาก

http://www.insulationtoday.com/home/
http://topicstock.pantip.com/home/topicstock/2007/12/R6149228/R6149228.html
http://www.xn--22cer8bllba8er9he9cc0iyehc6lxa7e.com/


วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ที่พักอาศัยแบบตู้คอนเทนเนอร์ต้องขออนุญาตเหมือนอาคารทั่วไปไหม

ในบ้านเราการจะสร้างที่พักอาศัยแบบตู้คอนเทนเนอร์ ต้องขออนุญาตเหมือนอาคารทั่วไป

เนื่องจากเป็นที่พักอาศัยจึงต้องมีการคำนวณโครงสร้างทางวิศวกรรมรวมทั้งกฎหมายอาคารต่างๆ เหมือนอาคารทั่วไป และต้องขออนุญาตก่อนก่อสร้าง เพราะเมื่อเราสร้างเสร็จ เจ้าตู้เหล่านี้ก็จะกลายเป็นบ้านที่สามารถเข้าไปพักอาศัยได้นั้นเอง  ยกเว้นในกรณีเป็นการต่อเติมจากตัวบ้าน คือมีบ้านที่มีการขอเลขที่บ้านอย่างถูกต้องตามกฎหมายอยู่แล้ว  และเอาที่พักอาศัยแบบตู้คอนเทนเนอร์มาติดตั้งต่อเติมให้เป็นส่วนหนึ่งกับตัวบ้าน แบบนี้ไม่ต้องไปขออนุญาต

ถ้าซื้อบ้านหรือสร้างบ้านใหม่  ขอเลขที่บ้านและทำทะเบียนบ้านใหม่ต้องนำเอกสารอะไรบ้าง

ต้องแจ้งขอเลขที่บ้านกับผู้ใหญ่บ้าน หรือกำนัน ให้ออกใบรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน (ท.ร.9) เพื่อนำไปยื่นคำร้องขอเลขที่บ้านที่งานทะเบียนราษฎรเทศบาลหรืออำเภอที่บ้านนั้นตั้งอยู่  เพื่อแจ้งขอเลขที่บ้านและสมุดทะเบียนบ้าน หลักฐานที่ต้องใช้ ได้แก่
  1. ใบรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน (ท.ร.900)  ดาว์นโหลด ท.ร.900
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน  เซ็นต์สำเนาถูกต้อง
  3. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ยื่นคำร้อง เซ็นต์สำเนาถูกต้อง
  4. โฉนดที่ดิน เอกสารสิทธิ์
  5. หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างบ้าน
  6. ใบอนุญาตปลูกสร้างอาคาร
  7. กรณีเจ้าของที่ดินไม่มาทำเอง ให้เตรียมเอกสารดังนี้
           7.1 หนังสือมอบอำนาจ  จากเจ้าของที่ดิน ดาว์นโหลดหนังสือมอบอำนาจคลิกที่นี่
           7.2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน  เซ็นต์สำเนาถูกต้อง
           7.3 สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจ เซ็นต์สำเนาถูกต้อง

เป็นเจ้าบ้านหลังเดิมอยู่ ต้องการย้ายเข้าทะเบียนบ้านใหม่

เหมือนเราไปทำเรื่องที่ทะเบียนราษฎร์ อำเภอ แจ้งย้ายออกปลายทาง แล้วทำการย้ายเข้าเป็นเจ้าบ้านทะเบียนบ้านใหม่ กรณีที่ซื้อบ้านโอนเรียบร้อยปกติเจ้าบ้านเดิมจะทำเรื่องย้ายออก แล้วให้เราทำเรื่องย้ายเข้าเป็นเจ้าบ้าน ถ้าเจ้าบ้านเดิม หรือลูกบ้านไม่ย้ายออก สามารถให้เจ้าของบ้านที่มีชื่อในโฉนดที่ดินแจ้งย้ายออกไปไว้บัญชีกลาง แล้วแจ้งย้ายเข้าเป็นเจ้าบ้านเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นเป็นเจ้าบ้านแทน
ต้องเตรียมเอกสารดังนี้
  1. หนังสือสัญญาซื้อขาย พร้อมสำเนา เซ็นต์สำเนาถูกต้อง
  2. โฉนด หรือหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด พร้อมสำเนา เซ็นต์สำเนาถูกต้อง
  3. บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา เซ็นต์สำเนาถูกต้อง
  4. สำเนาทะเบียนบ้านที่จะย้ายออก เฉพาะหน้าที่มีชื่อเรา (ถ้ามี)
  5. ทะเบียนบ้านที่จะย้ายเข้า พร้อมสำเนา เซ็นต์สำเนาถูกต้อง
ปล.ค่าธรรมเนียม 10 บาท

การแจ้งย้ายออกทั่วไป

1.    บัตรประจำตัวเจ้าบ้าน
2.    กรณีมอบหมาย บัตรประจำตัวผู้แจ้ง และหนังสือมอบอำนาจ ดาว์นโหลดหนังสือมอบอำนาจคลิกที่นี่
3.    สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะแจ้งย้ายออก

การแจ้งย้ายเข้าทั่วไป

1.    บัตรประจำตัวเจ้าบ้าน
2.    กรณีมอบหมาย บัตรประจำตัวผู้แจ้ง และหนังสือมอบอำนาจ ดาว์นโหลดหนังสือมอบอำนาจคลิกที่นี่
3.    สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะแจ้งย้ายเข้า
4.    ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ตอนที่ 1 , 2 ที่มีรายการครบถ้วนและลงลายมือชื่อของเจ้าบ้านและผู้แจ้ง

การแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง คืออะไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง

การแจ้งย้ายปลายทาง โดยให้ผู้จะย้ายไปแจ้งย้ายด้วยตนเอง ณ สำนักทะเบียนที่ผู้จะย้ายเข้าในบ้านนั้นตั้งอยู่ โดยไม่ต้องเดินทางกลับไปแจ้งย้ายออกที่มีชื่ออยู่  หลักฐานที่ใช้มีดังนี้
  1. บัตรประจำตัวเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้า
  2. พร้อมหนังสือยินยอมให้ย้ายเข้าจากเจ้าบ้าน กรณีเจ้าบ้านไม่มาด้วย
  3. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้า
  4. บัตรประจำตัวผู้แจ้งย้าย
  5. หนังสือยินยอมให้ย้ายเข้าของเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้า
  6. กรณีให้ผู้อื่นทำแทนต้องมีหนังสือมอบอำนาจ ดาว์นโหลดหนังสือมอบอำนาจคลิกที่นี่
  7. กรณีไม่มีเจ้าบ้าน ต้องการย้ายมาเป็นเจ้าบ้านให้นำหลักฐานแสดงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิหรือสิทธิ ครอบครองมาแสดง
ปล.เมื่อมีคนในทะเบียนบ้านย้ายออก แบบแจ้งย้ายปลายทาง จะมีจดหมายไปหาเจ้าบ้านให้เอาสมุดไปอัพเดท เพื่อมิให้บุคคลดังกล่าว เอาชื่อในทะเบียนบ้านไปใช้ในทางผิดกฎหมาย

สามารถตรวจสอบได้อย่างไรว่าคนเก่าย้ายออกหมดแล้ว

ตรวจสอบได้ที่อำเภอที่บ้านนั้นตั้งอยู่ ถ้าเป็นเจ้าของโฉนดสามารถแจ้งย้ายผู้ที่อยู่ในทะเบียนบ้านนั้น ออกไปไว้ในบัญชีกลางได้

ทะเบียนบ้านใหม่ จะมีเป็นหมายเลขเดิมกับเล่มเก่าหรือไม่

ทะเบียนบ้านหมายเลขเดียวกันเดียวกัน

เจ้าของบ้านและเจ้าบ้านแตกต่างกันอย่างไร

เจ้าของบ้าน คือคนที่มีชื่อในโฉนดสามารถขายได้ ส่วนเจ้าบ้าน คือ คนที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ทำหน้าที่ดูแล แก้ไขเพิ่มลดชื่อในทะเบียนบ้าน และมีหน้าที่รับผิดชอบถ้าคนในบ้านทำความผิดในบ้านเช่นทำเป็นบ่อน ซ่อง หรือที่พักคนต่างด้าว
ซึ่งเจ้าของบ้าน 1 คน สามารถเป็นเจ้าของบ้านได้หลายหลัง แต่เจ้าบ้านสามารถเป็นได้เพียงแค่หลังเดียว

คนซื้อบ้านกับเจ้าของบ้านจะต้องเป็นคนเดียวกันไหม

เจ้าของในโฉนดสามารถแจ้งใครออกจากทะเบียนบ้าน ย้ายชื่อมาเป็นเจ้าบ้านเองหรือ ให้ใครมาเป็นเจ้าบ้านก็ได้ ถ้าไม่ทำเองสามารถทำหนังสือมอบอำนาจได้

ย้ายทะเบียนบ้านต้องใช้ทะเบียนเดิมไหม ติดต่อเจ้าของเดิมไม่ได้ทำอย่างไร

ไม่ต้องใช้ทะเบียนบ้านเดิม แต่ให้ใช้
  1. หนังสือมอบอำนาจให้เจ้าของเซ็นต์ให้คุณเป็นเจ้าบ้านแทน
  2. สำเนาบัตรประชาชน ของเจ้าของบ้าน เซ็นต์สำเนาถูกต้อง
  3. สำเนาหนังสือสัญญาซื้อขาย ทด13 พร้อมเซ็นสำเนาถูกต้อง

แบบฟอร์มใบมอบอํานาจสามารถดาว์นโหลดได้จากที่ไหน

สามารถดาว์นโหลดได้ตามอินเตอร์เน็ต หรือ ดาว์นโหลดหนังสือมอบอำนาจคลิกที่นี่


ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.poolprop.com/

ดูอย่างไรว่าอะไรคือ สำเร็จรูป หรือ ตู้ดัดแปลง

ประเภทที่พักอาศัยในลักษณะของตู้คอนทนเนอร์

            ปัจจุบันเริ่มมีผู้ผลิตหลายประเภทที่ผลิตที่พักอาศัยแบบสำเร็จรูปซึ่งรวมไปถึงตู้คอนเทนเนอร์  เรามาทำความเข้าใจกันอีกนิดหนึ่ง ที่หลายคนเข้าใจผิดว่าตู้คอนเทนเนอร์ที่นำมาใช้เป็นที่พักอาศัยทำมาจากตู้คอนเทนเนอร์ทั้งหมด ดังนั้นเพื่อให้มองภาพง่ายขึ้นจึงขอแบ่งตู้คอนเทนเนอร์เพื่อเป็นที่พักอาศัยออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1.  Building Container (อาคารสำเร็จรูปในลักษณะตู้คอนเทนอร์)
อาคารสำเร็จรูปในลักษณะของตู้คอนเทนเนอร์เป็นการประกอบชิ้นส่วนโครงสร้างขึ้นมาใหม่เพื่อเป็นที่พักอาศัยในรูปแบบตู้คอนเทนเนอร์  องค์ประกอบของโครงสร้างต่างๆถูกออกแบบให้สามารถถอดประกอบได้หลายรูปแบบตั้งแต่โครงสร้างห้องขนาดเล็กจนไปถึงห้องโถงขนาดใหญ่  โดยมีส่วนประกอบพื้นฐานสำคัญคล้ายกับตู้คอนเทนเนอร์ดัดแปลง ได้แก่ โครงสร้างหลัก,โครงสร้างส่วนพื้น, หลังคา, แผ่นผนัง, พื้นอาคาร, วงกบหน้าต่างและวงกบประตูเหล็ก  เนื่องจากไม่ใช่ตู้คอนเทนเนอร์หรือตู้คอนเทนเนอร์ดัดแปลง ความคงทนแข็งแรงของโครงสร้างจึงขึ้นอยู่กับความมั่นคงของฐานหรือต่อม้อเป็นสำคัญ  จึงมีการหาวัสดุที่มีน้ำหนักเบาแต่มีความคงทนแข็งแรงเหมือนตู้คอนเทนเนอร์เข้ามาใช้  โลหะอลูซิงค์จึงเป็นคำตอบหนึ่งของความแข็งแรงคงทนสูงและน้ำหนักเบากว่าโลหะชนิดเดียวกันกับตู้คอนเทนเนอร์และตู้คอนเทนเนอร์ดัดแปลง  ด้วยน้ำหนักที่เบากว่าจึงช่วยให้อัตราการทรุดตัวของหน้าดินน้อยลงกว่าโลหะชนิดเดียวกับตู้คอนเทนเนอร์  จึงเหมาะกับการนำมาใช้เป็นที่พักอาศัยมากที่สุดชนิดหนึ่ง  ผนังห้องถูกสร้างขึ้นมาสำเร็จเพื่อให้ง่ายต่อการถอดประกอบและฉีดฉนวนกันความร้อนเข้าไปในแผนผนังช่วยลดความร้อนจากภายนอกอาคาร  ทั้งยังช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าในกรณีที่ติดแอร์อีกด้วย เมื่อมองจากภายนอกจะให้อารมณ์เป็นสำนักงาน  ภายในยังให้ความรู้สึกไม่แตกต่างจากอาคารก่อสร้างทั่วไป  เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการความสวยงาม คงทนแข็งแรงและปรับเปลี่ยนรูปแบบได้  นิยมใช้เป็น สำนักงาน ร้านค้า บ้านพัก รีสอร์ท ห้องเก็บเอกสาร เป็นต้น


 2. Container Converted for living (ตู้คอนเทนเนอร์ดัดแปลงสำหรับเป็นที่พักอาศัย)
ตู้คอนเทนเนอร์ดัดแปลงสำหรับเป็นที่พักอาศัยเป็นการนำตู้คอนเทนเนอร์เก่าที่ใช้ขนส่งสินค้าทางเรือแต่ปลดระวางแล้วมาดัดแปลงเป็นรูปแบบที่พักอาศัย ตู้สำนักงานเคลื่อนที่ หรือตู้สำนักงานสำเร็จรูปนั้น จึงคุณสมบัติที่โดดเด่นในเรื่องความแข็งแรงกว่าตู้สำนักงานแบบอื่น ๆ โครงสร้างของตู้คอนเทนเนอร์ล้วนแต่เป็นเหล็กหนา จึงทนแรงกระแทกได้เป็นอย่างดี ภายในตู้จะบุด้วยโฟมหนาและฉาบทับวัสดุเนื้อแข็งอีกชั้น ช่วยลดความร้อนจากภายนอก ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าในกรณีที่ติดแอร์  ลดภาวะเสียงที่ดังจากภายนอกได้  ในส่วนช่องประตูหน้าต่างจะถูกตัดเจาะจากโครงสร้างผนังตู้คอนเทนเนอร์โดยตรงจึงคงทนถาวร  ผนังเมื่อมองจากภายนอกให้อารมณ์แบบตู้คอนเทนเนอร์ชัดเจน  ภายในจะไม่ต่างจากอาคารก่อสร้างทั่วไป  เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการความคงทนแข็งแรง เคลื่อนย้ายได้และกักเก็บเสียงได้ดี  นิยมนำมาทำเป็น ออฟฟิศในไซต์งานก่อสร้าง สำนักงาน  เป็นต้น

กฎหมายที่่เกี่ยวข้องกับการสร้างที่พักอาศัย


ที่พักอาศัยแบบตู้คอนเทนเนอร์ต้องมีกฏหมายควบคุมด้วยหรอ ?
"ต้องมีกฏหมายควบคุมครับ" หากตอนเป็นตู้คอนเทนเนอร์ขนของก็ใช้กฏหมายของการบรรทุกขนส่งไป  แต่ถ้าเราเอาตัวเองไปเป็นที่หลับนอนเป็นจิจะลักษณะหรือเป็นอาศัยอยู่แบบถาวรที่เข้าข่ายที่ก่อให้เกิดความไม่ปลอยภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินไม่ว่าจะเป็นของตนเองและเพื่อนมนุษย์ก็คงต้องมีกฏหมายควบคุมครับ  ถ้าถามว่า"ไม่ต้องมีกฏหมายควบคุมไม่ได้หรือเพราะ........ บราๆๆ"  ผมก็ขอตอบได้เต็มปากเลยว่า "ก็ช่วยไม่ได้ โลกเราก็แบบนี้แหล่ะ เหอๆ"  

คำว่ากฏหมายที่เราได้ยินกันมาตั้งแต่เด็กจนโตมา  สำหรับคนที่ไม่ได้เรียนกฏก็คงไม่สามารถให้คำจำกัดความที่ชัดเจนได้  ตัวผมเองพึ่งได้รู้ความหมายจริงๆก็วันนี้แหล่ะ จึงขอแชร์ซักหน่อยล่ะกันครับ  กฎหมาย คือ "กฎเกณฑ์ คำสั่ง หรือข้อบังคับที่ถูกตั้งขึ้นโดยรัฐหรือผ็มีอำนาจสูงสุดเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายอย่างหนึ่งอย่างใดของสังคม และมีสภาพบังคับเป็นเครื่องมือในการทำให้บุคคลในสังคมต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ คำสั่ง หรือข้อบังคับนั้น"  

วัตถุประสงค์หลักของข้อกฏหมายที่พักอาศัย “เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของเจ้าของอาคารและสาธารณชน” โดยในข้อกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับที่พักอาศัยมีสาระสำคัญดังนี้
  • ควบคุมเรื่องความมั่นคงแข็งแรง
  • ควบคุมความปลอดภัยต่อผู้ใช้อาคาร
  • ควบคุมความเป็นระเบียบเรียบร้อยต่อสังคมและชุมชน
  • ควบคุมการสร้างมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม

เฉพาะนั้นแล้วที่พักอาศัยแบบตู้คอนเทนเนอร์จัดว่าเป็นที่พักอาศัยของแบบอสังหาริมทรัพย์  ต้องมีการขอเลขที่บ้าน, ขอเบอร์โทร, ขอกระแสไฟฟ้า ฯลฯ เช่นเดียวกันกับบ้านพักทั่วไปครับ   


แนวคิดเกี่ยวกับที่พักอาศัย

เป็นการสร้างเพื่อแสดงถึงอาณาเขตที่เป็นสัดส่วนของบุคคล เป็นเอกสิทธิ์ที่พึงมีพึงได้ และจะต้องไม่ล่วงล้ำกรรมสิทธิ์ของผู้อื่นเช่น ที่ดินส่วนบุคคล (พื้นที่ข้างเคียง) หรือไปซ้อนทับกับที่สาธารณะของแผ่นดิน


พรบ.ควบคุมอาคารที่พักอาศัย

  • พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๔๒
  • พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ฉบับปรับปรุงแก้ไข ฉบับที่ ๓ ซึ่งเริ่มใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๓
  • พระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน พ.. ๒๕๔๓


ถ้าจะต้องสร้างบ้านต้องทำอย่างไร ?

อันดับแรกจะต้องขออนุญาตเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องมีคำสั่งอนุญาตก่อสร้างก่อนจึงจะปลูกสร้างบ้านได้ รายละเอียดการดำเนินการบริษัทรับสร้างบ้านส่วนใหญ่จะเป็นผู้ดำเนินการให้อยู่แล้ว


กฎหมายที่่เกี่ยวข้องกับการสร้างที่พักอาศัย  

  1.  บ้านสูงไม่เกิน ๘ เมตร และสร้างบนที่ดินติดถนนกว้างไม่ถึง ๖ เมตร จะต้องถอยตัวอาคารบ้านพัก ห่างจากกึ่งกลางถนน ไม่น้อยกว่า ๓ เมตร
  2. บ้านสูงเกินกว่า ๘ เมตร และสร้างบนที่ดินติดถนนกว้างไม่ถึง ๑๐ เมตรจะต้องถอยตัวบ้านพักห่างจากกึ่งกลางถนน ไม่น้อยกว่า ๖ เมตร
  3. บ้านสูงเกินกว่า ๘ เมตร และสร้างบนที่ดินติดถนนกว้างขนาด ๑๐-๒๐ เมตร จะต้องสร้างอาคารถอยห่างจากที่ดิน จากเขตที่ดินเป็นระยะ ๑ ใน ๑๐ เท่าของความกว้างถนน 
  4. บ้านที่สูงเกินกว่า ๘ เมตร และสร้างบนที่ดินติดถนนกว้าง ๒๐ เมตรขึ้นไป จะต้องสร้างอาคารถอยห่างจากเขตที่ดิน เป็นระยะอย่างน้อย ๒ เมตร 
  5. การสร้างบ้านใกล้แม่น้ำ คู คลอง ลำราง ที่แคบกว่า ๑๐ เมตร จะต้องถอยตัวบ้านห่างจากขอบที่ดินอย่างน้อย ๓ เมตร
  6. ถ้าแหล่งน้ำนั้นกว้างกว่า ๑๐ เมตร จะต้องถอยตัวบ้านห่างจาขอบที่ดินอย่างน้อย ๖ เมตร
  7.  ถ้าเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น บึง ทะเลสาบ หรือทะเล จะต้องถอยให้ตัวบ้านห่างจากขอบที่ดินอย่างน้อย ๑๒ เมตร
  8. หากเป็นสิ่งก่อสร้างอื่นๆ เช่น สะพาน ท่าเรือ อู่เรือ เขื่อน รั้วที่จำเป็นต้องสร้างชิดแหล่งน้ำ ให้ยื่นขออนุญาตต่อทางราชการต่างหาก จากบ้านพักอาศัย
  9. ห้ามสร้างบ้านให้มีส่วนหนึ่งส่วนใด ยื่นรุกล้ำเข้าไปในเขตที่ดินผู้อื่น
  10. หากผนังข้างบ้านเป็นช่องเปิดต่างๆ เช่น ประตู หน้าต่าง แนวระเบียง จะต้องถอยร่นจากขอบที่ดินเป็นระยะ ๒ เมตร (สำหรับชั้นหนึ่งและชั้นสอง) และถอยเป็นระยะ ๓ เมตรสำหรับชั้นสาม
  11. หากผนังข้างบ้านเป็นผนังทึบ และมีความสูงไม่เกิน ๑๕ เมตร ให้เว้นระยะไว้อย่างน้อย ๕๐ เซนติเมตร หรือถ้าต้องการสร้างผนังให้ไปจนชิดแนวขอบจริงๆ ต้องให้เพื่อนบ้านเซ็นต์ยินยอมเสียก่อน เนื่องจากเวลาก่อสร้างนั้น ช่างอาจต้องวางนั่งร้าน เพื่อทาสีฉาบปูนในเขตที่ดินของเพื่อนบ้าน (หากพื้นที่ใช้สอยรวมแล้วกว้างกว่า ๓๐๐ ตารางเมตร จะต้องเว้นระยะห่างอย่างน้อย ๑ เมตร โดยทุกกรณี) 
  12. กรณีที่บ้านสูงเกิน ๑๕ เมตร จะต้องให้ผนังทึบ ถอยห่างจากขอบที่ดินอย่างน้อย ๕๐ เซนติเมตร (หากพื้นที่ใช้สอยรวมแล้วกว้างกว่า ๓๐๐ ตารางเมตร ห้ามสร้างชิดเด็ดขาด)
  13. การปลูกสร้างบ้านพักอาศัยบนที่ดินนั้น ตามกฎหมายกำหนดให้เปิดเป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า ๓๐ เปอร์เซ็นต์ โดย ๗๐ เปอร์เซ็นต์ เพื่อการก่อสร้างบ้านพักอาศัย (ที่ว่างหมายถึง พื้นที่อันปราศจากสิ่งปกคลุม ซึ่งอาจจัดเป็นบ่อน้ำ สระว่ายน้ำ บ่อพักน้ำเสีย ที่พักขยะมูลฝอย เป็นต้น)
แหล่งที่มา

ข้อดี ที่พักอาศัยแบบตู้คอนเทนเนอร์

  


1. ราคาถูกกว่าการลงทุนก่อสร้าง 
ด้วยลักษณะที่เป็นที่พักอาศัยที่ทำมาเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงไม่มีปัญหาค่าใช่จ่ายเล็กๆน้อยเหมือนการก่อสร้าง เช่น ปูนไม่พอ ทรายเหลือ ช่างไม่มาทำงาน และอีกมากมายที่ยังไม่ได้กล่าวถึง




2. รูปแบบการก่อสร้างสามารถออกแบบได้หลากหลาย 
ด้วยรูปแบบที่เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมเหมือนห้องหนึ่งในตัวบ้าน มีความแข็งแรงพอตัวจึงสามารถนำมาจัดวางได้หลากกลาย สวยงาม มีความเป็นเอกลักษณ์





  

3. ไม่มีล้าสมัย 
นักออกแบบหลายท่านพอจะทราบอยู่แล้วว่า การนำรูปทรงเรขาคณิตมาเป็นพื้นฐานออกแบบ  จะทำให้งานที่ได้ออกมาสามารถอยู่ได้ยาวนานกว่ารูปแบบอื่นๆ







4. ใช้เวลาในการก่อสร้างรวดเร็ว 
เนื่องจากตัวที่พักอาศัยแบบตู้คอนเทนเนอร์ได้ทำสำเร็จมาแล้ว จึงช่วยทุนระยะเวลาได้มาก  เหลือแค่การทำฐานรากและต่อไฟฟ้า ปะปา แค่นี้ก็ใช้ได้แล้ว




  
5. รักษาสิ่งแวดล้อม
ตัวตู้ทำด้วยเหล็ก ไม่ต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติอื่นใดมาผสม ทำให้ไม่สิ้นเปลื้อง และยังสามารถนำมารีไซเคิลได้อีก





   


6. การบำรุงรักษาทำได้ง่าย 
แค่ ตัด ปะ เชื่อม ขัด รองพื้น และ ทำสี ซึ่งช่างเหล็กที่มีความชำนาญทั่วๆไปก็สามารถทำได้








 

7. ไม่ต้องกังวลเรื่องความร้อน
ตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้เป็นที่พักอาศัยนั้นส่วนใหญ่จะถูกออกแบบให้สามารถป้องกันความร้อนได้ระดับหนึ่ง ทั้งยังเหมาะสำหรับการติดตั้งแอร์บ้านอีกด้วย


   


 



8. ปรับเปลี่ยน-ขนย้ายได้ง่าย 
ไม่ต้องทุบทิ้ง เบื่อก็เปลี่ยนไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่นได้ เช่น ทำเป็นห้องเก็บของหลังบ้าน ทำเป็นที่พักตางอากาศในสวน เป็นต้น การขนย้ายสามารถใช้รถเครนจับวางได้ หากต้องการขนย้ายไปใช้งานที่ไกลๆก็สามารถยกใส่รถบรรทุกหรือรถเฮียบได้สะดวก





9. สามารถขายต่อได้
ความคงทนแข็งแรง อยากที่จะบุสลาย มีอายุการใช้งานที่ยืนยาว ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย จึงเป็นคุณสมบัติที่เพียงพอต่อการซื้อขายเปลี่ยนมือ ไม่ว่าจะขายกันเองหรือขายคืนบริษัทฯที่เราซื้อมา 
(มีเป็นบางบริษัทที่มีบริการนี้)

วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ที่พักอาศัยสไตล์ตู้คอนเทนเนอร์

CONTAINER  FOR LIVING (ที่พักอาศัยแบบตู้คอนเทนเนอร์)

รูปภาพ 1
ในปัจจุบันการมีบ้านเป็นของตัวเองนั้นเป็นค่อนข้างเป็นภาระหนักอึ่งด้วยราคาที่สูงและปัญหาที่ตามมาอีกมากมาย โดยเฉพาะการสร้างบ้านเองซึ่งจะต้องมีการใช้จ่ายทั้งค่าวัสดุ อุปกรณ์ ค่าจ้างช่าง ค่าแบบบ้าน ค่าพิมพ์เขียว ซึ่งหากเป็นบ้านไม้ก็จะมีราคาแพงมาก เพราะไม้ในปัจจุบันหายากและมีราคาแพง หรือการซื้อบ้านจัดสรรจากโครงการต่าง ๆ ถึงแม้ว่าจะมีราคาที่ถูกกว่าการสร้างบ้านเอง แต่แบบบ้านก็ซ้ำกัน หรือเหมือนกันทั้งโครงการก็ไม่หน้าพิศมัยซักเท่าไหร  สภาพอากาศบ้านเราก็สุดแสนจะร้อนเหลือทนและไม่มีทีท่าว่ามันจะเย็นกับเค้าเลย   ตู้คอนเทนเนอร์ก็เป็นทางออกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการที่พักอาศัยในราคาที่ไม่สูงแถมยังเหมาะกับการติดตั้งเครื่องปรับอากาศได้ดีชนิดหนึ่ง 



การนำมาตู้คอนเทนเนอร์มาดัดแปลงเป็นที่พักอาศัยนั้นมีมานานแล้วในต่างประเทศ  รูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของตู้คอนเทนเนอร์ที่เด่นชัด  คือเป็นกล่องสี่เหลี่ยมโลหะแข็งแกร่ง มีขนาดหน้าใหญ่โตเพียงพอสำหรับจัดทำเป็นห้องได้หลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นห้องน้ำ ห้องนอน ห้องทำงาน สำนักงาน ฯลฯ เมื่อสังเกตุจากภายนอกรูปแบบที่ออกมาดูแปลกตาไม่ค่อยน่าอยู่ซักเท่าไหร่(สำหรับเราน่ะ)  แตกต่างจากที่พักอาศัยที่เราคุ้นเคย  ในต่างประเทศมักออกแบบที่พักด้วยตู้คอนเทนเนอร์ที่บ่งบอก Life Style ของผู้เป็นเจ้าของ มีการจัดวางตู้คอนเนอร์หลากหลายรูปแบบ  ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว  สร้างด้วยความคิดสร้างสรรค์อย่างแท้จริง  คำพูดของ ไอสไตน์ว่า “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” น่าจะใช้ได้บ้างกับที่พักอาศัยแบบตู้คอนเทนเนอร์ล่ะน่ะ  


รูปภาพ 2
ในกระบวนการสร้างที่พักอาศัยแบบตู้คอนเทนเนอร์เองนั้น ยังคงมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยอยู่เพราะต้องใช้เครื่องจักรกลสำหรับยกตู้คอนเทนเนอร์ไปจัดว่างและต้องมีควรคำนวนสัดส่วนความสมดุลมาเป็นอย่างดีเพื่อให้โครงสร้างแข็งแรง  ยกตัวอย่างในกรณีที่เป็น 2 ชั้น (รูปภาพที่ 2) ส่วนชั้นลอยที่ยืดออกจากตัวอาคาร  เป็นส่วนที่มีโอกาสคว่ำลงมาจึงต้องคำนวณน้ำหนักศูนย์ถ่วงและประเมินเผื่อน้ำหนักอุปกรณ์ตกแต่งภายในและจำนวนคนในตู้อย่างละเอียดถี่ถ้วนเพื่อความปลอดภัย  เพราะฉะนั้นการปรึกษาวิศวกรก่อสร้าง สถาปนิก มันฑนากร หรือผู้เชี่ยวชาญในเรื่องตู้คอนเทนเนอร์โดยตรงจะทำให้เราอุ่นใจได้มากกว่า จุดที่สำคัญมากของการสร้างที่พักอาศัยไม่ว่าจะเป็นแบบก่อสร้างหรือแบบสำเร็จรูป(หากรู้อยู่แล้วก็ต้องขออภัยด้วย)  ส่วนฐานต้องจับระดับให้ได้ระดับเสมอกัน  หน้าดินต้องแน่นสามารถรับน้ำหนักได้ไม่ทรุดตัว  การฝังเสาหรือการฝังต่อม้อต้องได้ระดับและเพียงพอต่อการรับน้ำหนักได้เช่นกัน แล้วแบบนี้ผู้อาศัยจะรู้สึกปลอดภัยได้อย่างไรกันถ้าพี่พักเราไม่มีความแข็งแรงและอายุการใช้งานที่น้อย    จริงๆแล้วยังคงมีอีกหลายปัจจัยที่ยังไม่ได้กล่าวถึง สาเหตุที่มีผลต่อความแข็งแรงและอายุการใช้งานที่ลดลงพูด 3 วันก็ไม่จบ  แต่เดี๋ยวมันจะนอกประเด่นไปไกล 
รถสำหรับยกตู้คอนเทนเนอร์โดยเฉพาะ
มาต่อที่ข้อดีของการทำที่พักอาศัยด้วยตู้คอนเทนเนอร์นั้นใช้เวลาเร็ว สวยงามแปลกตา  ตอบสนองที่พักอาศัยแบบกึ่งถาวรได้ดีที่สุดชนิดหนึ่ง โดยส่วนตัวมองว่าหากตกแต่งและเก็บสีดีๆ  ทั้งที่ตู้คอนเทนเนอร์เป็นองค์ประกอบหนึ่งของภาคอุตสาหกรรมที่บั่นทอนธรรมชาติที่เรารู้กันดี แต่เมื่อนำมาประยุกต์เป็นที่พักอาศัยกลับดูเข้ากับธีมธรรมชาติได้อย่าไม่หน้าเชื่อ



ในบ้านเรามีหลายบริษัทที่ให้บริการที่พักอาศัยแบบตู้คอนเทนเนอร์แบบครบวงจร  ซึ่งนิยมนำมาทำเป็นสำนักงานมากที่สุด  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไซต์งานก่อสร้าง 100% เป็นตู้คอนเทนเนอร์  ความจริงมันก็เหมาะสมมากเพราะในไซน์งานก่อสร้างมีโอกาสที่จะมีวัสดุอุปกรณ่ร่วงหล่นลงมา  รองลงมาก็จะเป็นที่พักอาศัยซึ่งนิยมแบบอาคารตู้คอนเทนเนอร์สำเร็จรูปซึ่งผู้ผลิตก็มีการออกแบบไว้ให้เลือกดูหลากหลายรูปแบบและพร้อมอยู่ได้เลยไม่ต้องปรับแต่งอะไรเพิ่มเติม   หรือก็มีบางทีที่ใช้ตู้คอนเทนเนอร์มาทำเป็นที่พักในเชิงพานิชย์เช่น ห้องเช่า รีสอร์ท ร้านค้า  และที่ได้ยินมาแว่วๆมา มีผู้นำไปใช้ทำโรงเรียนอนุบาล และคลินิกอีกด้วย  




ขอบคุณรูปภาพจาก : http://dsignsomething.com/ และ http://www.pccabin.com/

วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

มาทำความรู้จักตู้คอนเทนเนอร์กันซักหน่อย

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันคราวๆเกี่ยวกับตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้าด้วยภาษาง่ายๆกันก่อน

ตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้ามาตรฐานจะทำด้วยเหล็กหรืออลูมิเนียม มีทั้งแบบ 1 ประตู และ 2 ประตู ที่บานประตูจะมีรายละเอียด ระบุหมายเลขตู้ น้ำหนักของสินค้าบรรจุสูงสุด แบ่งได้ 5 ประเภท

1. Dry cargoes เป็นตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้บรรทุกของที่มีการบรรจุหีบห่อหรือภาชนะและไม่ต้องรักษาอุณหภูมิ

2. Refrigerator cargoes เป็นตู้คอนเทนเนอร์ที่มีการปรับอากาศตลอดการขนส่งสินค้า

3. Garment container เป็นตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้าที่เป็นเสื้อผ้า โดยมีราวสำหรับแขวนเสื้อ

4. Open top เป็นตู้เป็นตู้คอนเทนเนอร์ที่ไม่มีหลังคา สำหรับขนสินค้าขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถขนเข้าทางประตูได้

5. Flat rack เป็นพื้นราบมีขนาดกว้างและยาว ตาม Size ของตู้คอนเทนเนอร์มาตรฐาน โดยจะเป็นตู้คล้ายกับ เป็นตู้คอนเทนเนอร์ ที่มีแต่พื้น Platform สำหรับใส่สินค้าที่มีลักษณะเป็นพิเศษ เช่น เครื่องจักร , แท่งหิน , ประติมากรรม , รถแทรกเตอร์

ขนาดของตู้คอนเทนเนอร์จะมี 2 ขนาดหลักๆ คือ 2.5 x 6 เมตร สูง 2.45 เมตร และ 2.5 x 12 เมตร สูง 2.45 เมตร โดยประมาณ ตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้าที่นิยมนำมาทำเป็นบ้านหรืออาคารส่วนใหญ่จะเป็นตู้แบบ Dry cargoes เพราะหาซื้อได้ง่าย มีลักษณะที่เหมาะสมและไม่ต้องดัดแปลงมาก ส่วนขนาดนั้นก็แล้วแต่ความต้องการของเจ้าของ แหล่งซื้อขายตู้ขนส่งสินค้าอาจหาได้ตามถนน บางนา-ตราด ตามท่าเรือขนส่งสินค้า